วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ วันวาเลนไทน์

วันวาเลนไทน์ (Valentine'sDay) วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่รู้จักกันว่า วันแห่งความรัก ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ มอบของขวัญวาเลนไทน์ หรือพาคนรักไปท่องเที่ยวในสถานที่โรแมนติก ซึ่งต่อมาวันวาเลนไทน์ ก็ได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเข้ามาในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยายก่อนคริสตศักราช 269 ปี ในสมัยนั้นเขาไม่นิยมให้แต่งงานกันในโบสถ์ แต่เซนต์วาเลนไทน์กลับให้คนภายนอกเข้ามาแต่งงานได้ซึ่งประเพณีรักแบบนี้มักจะถูกต่อต้าน แต่เซนต์วาเลนไทน์กลับให้คนรักกันแบบนี้ได้ จากนั้นเซนต์วาเลนไทน์ถูกพวกโรมันจับตัวส่งไปขังและเขาก็ได้พบรักกับสาวตาบอดในคุก เมื่อฝ่ายที่ว่ามานี้รู้ข่าวเข้าจึงนำเซนต์วาเลนไทน์ไปประหารวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันนี้จึงเป็นวันวาเลนไทน์นั่นเอง



เขียนโดย นายณัฐงุฒิ อารีรมย์

ซามูไร

เป็นที่เชื่อกันว่า รูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6น่าจะเป็นตัวบทต้นแบบของซามูไรดั้งเดิม ขณะที่จุดกำเนิดของซามูไรสมัยใหม่ยังเป็นปัญหาที่โต้เถียงกันอยู่
หลังจากการสู้รบในสงครามนองเลือดกับฝ่ายราชวงศ์ถังของจีนและชิลละของเกาหลีญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปไปทั่วทุกหัวระแหง โดยการปฏิรูปครั้งสำคัญที่สุดคือการปฏิรูปไทกะซึ่งกระทำโดยจักรพรรดิโคโตกุเมื่อ 646 ปีหลังคริสตกาลการปฏิรูปในครั้งนั้น ได้เริ่มนำเอาวัฒนธรรมการปฏิบัติและเทคนิคการบริหารต่าง ๆ ของจีนมาใช้กับกลุ่มชนชั้นสูงและระบบราชการของญี่ปุ่น

เมื่อ 702 ปีหลังคริสตกาล ประมวลกฎหมายโยโรและประมวลกฎหมายไทโฮก็ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับคำสั่งที่ให้ประชาชนมารายงานตัวเป็นประจำกับทางการเพื่อเก็บข้อมูลมาสร้างสำมะโนประชากรที่ต่อมาจะถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้น เมื่อการทำสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นลงจนทำให้รู้ว่าประชากรในญี่ปุ่นมีการกระจายตัวกันอย่างไร จักรพรรดิคัมมึก็ได้ริเริ่มกฎหมายให้ประชากรเพศชายที่เป็นผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ถึง 4 คนต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นทหารเหล่านี้จะถูกขอความร่วมมือให้ส่งมอบอาวุธของตนแก่ทางการ แต่พวกเขาจะได้รับการยกเว้นในการเสียภาษีและการรับหน้าที่ต่าง ๆ เป็นสิ่งตอบแทน
ในช่วงต้นของยุคเฮอังประมาณปลายศตวรรษที่ 8และต้นศตวรรษที่ 9จักรพรรดิคัมมุ ได้หาทางทำให้อำนาจของตนทรงพลังและแผ่ขยายไปทั่วตอนเหนือของเกาะฮนชู(แผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น) แต่กระนั้นเอง ความหวังดังกล่าวก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อกำลังทหารที่จักรพรรดิส่งไปเพื่อปราบกบฏเอมิชิกลับไร้ซึ่งแรงจูงใจและระเบียบวินัยจนต้องแพ้ทัพกลับมา จักรพรรดิคัมมุจึงต้องแก้เกมใหม่โดยการริเริ่มตำแหน่งเซอิไตโชกุง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โชงึง หรือ โชกุน ขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ไปพิชิตกลุ่มกบฏเอมิชิ เป็นผลให้ทั้งหน่วยประจัญบานบนหลังม้าและนักแม่นธนู ที่มีทักษะฝีมือ ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นเครื่องมือ สำคัญในการคว่ำกำลังกบฏทั้งหลาย ซึ่งถึงแม้ว่านักรบเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาก็ตาม แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว (ประมาณศตวรรษที่ 7ถึงศตวรรษที่ 9) ตามสายตาของทางการแล้ว พวกเขายังถูกมองว่าเป็นชนชั้นที่สูงกว่าคนเถื่อนขึ้นมานิดเดียว

แต่ในที่สุด จักรพรรดิคัมมุก็ยุติการบัญชาทัพของท่านไป และอำนาจของท่านก็อ่อนแอลงเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มตระกูลที่มีกำลังแข็งแกร่งทั่วเมืองเกียวโต ก็ได้เข้าครองตำแหน่งรัฐมนตรีและบางส่วนก็มีอำนาจเป็นผู้ปกครองหรือศาลแขวง กลุ่มผู้ปกครองเหล่านี้มักจะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนอย่างหนักหน่วง เพื่อที่จะสะสมความมั่งคั่งและเป็นการคืนกำไรให้กับพวกตน จึงส่งผลสำคัญให้ชาวนาหลายต่อหลายคนไร้ที่ดินอยู่ อัตราการปล้นสดมภ์ก็เพิ่มขึ้น เหล่าผู้ปกครองจึงแก้ปัญหาโดยการรับสมัครผู้ถูกเนรเทศในเขตคันโตให้มาฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างเข้มงวด เพื่อที่จะใช้พวกเขาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ บางครั้งก็ให้ไปช่วยเก็บภาษีและยับยั้งการทำงานของเหล่าหัวขโมยและโจรป่า พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า ซาบุไร (saburai) หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ให้แก่กองทัพ ซึ่งผู้ที่เป็นซาบุไรมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่น เนื่องจากพวกเขาจะได้รับอำนาจทางการเมืองและมีชนชั้นที่สูงขึ้น


เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้ชื่อว่า " ภูเก็จ " แปลว่าเมืองแก้ว ซึ่งตรงกับความหมายเดิมที่ชาวทมิฬเรียกเมืองนี้ว่า " มณีคราม " ตามหลักฐานที่ปรากฎเมื่อ พ.ศ. 1568 ภูเก็ต เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มานานนับพันปี เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือ ที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียผ่านแหลมมลายู มีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดแสดงในแผนที่เดินเรือชาวปโตเลมี ซึ่งได้กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิ ลงมาแหลมมลายู ต้องผ่านแหลมจังซีลอน ซึ่งก็คือเกาะภูเก็ตนั้นเอง



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติแวมไพร์

ผีดูดเลือดหรือแวมไพร์ ( Vampire) เป็นมนุษย์อีกรูปแบบที่มีพลังปีศาจ แม้ว่าผีดูดเลือดจะอยู่ในร่างมนุษย์ แต่ก็ไม่มีความเป็นมนุษย์อยู่ เพราะผีดูดเลือดนั้นมาจากคนที่ตายไปแล้วและลุกขึ้นมาจากโลง มีชีวิตใหม่ โดยทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้เเสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง

ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็น การพันธนาการไว้ในโลง
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องของแวมไพร์ที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ อาจมีที่มาจากที่ทวีปอเมริกากลาง มีค้างคาวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ดูดเลือดสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งค้าวคาวชนิดนี้ก็ได้มีการเรียกชื่อว่า แวมไพร์ เช่นกัน
ผีดูดเลือดปรากฏขึ้นครั้งแรกในอาณาจักร บาบิโลเนีย ใน!บศพที่ถูกปิดมานานกว่า 4,000 ปี มีตำนานเกี่ยวกับผีดูดเลือดมากมายในอินเดีย จีน กรีก โรมัน มาเลเซีย และไทยก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ผีดูดเลือดเช่นกัน


เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติเมืองปาย

เมืองปายแต่เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1800 ตามประวัติความเป็นมาของอาณาจักรล้านนาเรียกอำเภอปายว่า "บ้านดอน" ทั้งนี้เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บนดอนมีป่าไม้ไฝ่ล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง ไหลผ่านทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตก รอบบ้านดอนเป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งทัพ และปลูกข้าวเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพและผู้คนได้เป็นจำนวนมาก พ.ศ. 1857 ตรงกับจุลศักราช 679 ทางพิงค์นครเชียงใหม่ ซึ่งมีพระเจ้าครามณีเป็นผู้ครองนครอยู่ ได้ทราบว่ามีชาวพม่าชื่อ พะกำซอ ยกทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านดอนก็เกิดความสนใจ ต่อมาเกิดการจราจลที่เมืองแสนหวี เมืองนาย เมืองลายคำ เมืองหมอกใหม่ ในรัฐไทยใหญ่ ประเทศสหภาพพม่า พะกำซอยกทัพกลับไปปราบจราจลจนสงบและย้อนกลับมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 1860 พะกำซอได้สร้างบ้านดอนเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น มีการขุดคูเมืองรอบด้านทุกด้าน ดินที่ขุดขึ้นมาได้ถมเป็นคันดินสูง สร้างประตูเมือง 2 ประตู ทางทิศใต้และทางทิศตะวันออก จนบ้านดอนเป็นเมืองที่แข็งแรงยากที่ศัตรูจะมาตีเมืองนี้ได้

พ.ศ. 1865 เจ้าครามณีผู้ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นอายุได้ 55 พรรษา ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่พะกำซอ สร้างบ้านดอน พระองค์จึงดำริจะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น จึงได้ส่งกองลาดตระเวนมาสอดส่องดูว่าพอจะยกกองทัพมายึดเอาได้หรือไม่ ถ้าได้จะยกทัพมา แต่พระองค์สวรรคตเสียก่อน

ในปี พ.ศ. 1871 ถึง ปี พ.ศ.1890 พระเจ้าเสนาะภูติ โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าครามณี ซึ่งครองเมืองเชียงแสนอยู่ได้ส่งเจ้ามหาชัยยกทัพมายึดเอาบ้านดอน สมัยนั้นการเดินทางยากลำบากต้องผ่านป่าทึบและภูเขาสูงสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องผจญกับไข้ป่า การเดินทัพของเจ้ามหาชัยได้นำช้างไป 3 เชือก เดินทางรอนแรมขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ จนถึงที่แห่งหนึ่งเหมาะสมแก่การพักทัพจึงหยุดพักแรม ในคืนนั้นเองเจ้ามหาชัยก็หลับและฝันเห็นข้าศึกมาล้อมพระองค์และจับช้างของพระองค์ไปด้วย ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ก็ทรงเล่าความฝันให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟังทุกคนต่างไม่สบายใจ คอยระมัดระวังภัยตลอดเวลา ต่อมาช้างเผือกเชือกหนึ่งก็ตายลงโดยมิทราบสาเหตุ พระองค์จึงสั่งให้เผาและเอากระดูกช้างนั้นไปฝังไว้ใกล้ที่พักแรมแห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "บวกหัวช้าง" อยู่บนเส้นทางสาย ปาย-เชียงใหม่ เจ้ามหาชัยได้ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่และสวรรคตในปี พ.ศ. 1978 ฝ่ายพะกำซอปลูกสร้างเมืองสำเร็จเป็นปึกแผ่นก็มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย เพื่อความปลอดภัยจึงต้องมีการขุดคูเมืองโดยรอบลึกลงไปอีก และในปี พ.ศ.1980 ได้เดินทางกลับพม่าโดยให้บุตรชายชื่อ พะกำกันนะ อยู่ดูแลบ้านดอนแทน



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

สุนทรภู่

สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี
พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศ ส่วนพระ ราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภ ู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วง ถึง เดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภ ู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี
พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนักในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว ้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี
พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ ทำนา อยู่กับหม่อมบุญนาค ในพระราชวังหลัง นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนัก กลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอก บทละคร นอก บางทีนิทานเรื่องแรกของ ท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะ สมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่าน คนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของ ท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดัง ในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว รับราชการครั้งแรก ก็สมัยพระ พุทธเลิศ หล้านนภาลัย ที่ได้อาจจะมาจากมูลเหตูที่รัชกาลที่ 2 ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ 2 เสด็จ สวรรคต นอกจาก แผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุด ในชีวิตได้เป็นถึง กวีที่ ปรึกษา ในราชสำนัก ก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึง เหตุที่สุนทรภู่ ไม่กล้า รับราชการต่อใน แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้ "เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์ บทละคร เรื่องอิเหนา ทรงแต่งตอนนางบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าว ดาหาไปใช้บน พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่ง "เมื่อทรงแต่งแล้ว ถึงวันจะอ่านถวายตัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรง ปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งว่า " 'น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว' "สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้เป็น " 'น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว' "โปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ดำรัสว่า เมื่อ ขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข แกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้ง หนึ่ง "อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอน ท้าว สามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้ว สมมาด ปรารถนา' " ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า 'ลูกปรารถนาอะไร' พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องแก้ว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา' "ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... " จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอ พระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ท ี่วัดอรุณ ราชวรารามหรือวัดแจ้ง
ปี พ.ศ.๒๓๗๒เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้า ปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภ ู่สุข สบาย ขึ้นพระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ท ี่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมา ก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชัก ชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคย กับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้า สุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศ วัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณปี
พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย


เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

แม่น้ำสองสี อุบลราชธานี

หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัด อุบลราชธานี 84 กม. จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่ เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชม ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึก ที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวอีกด้วย



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทาง สายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาตนเอง และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง

ผลที่เกิดขึ้นคือ

-เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
-ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
-รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย


เขียนโดบ นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติพระธาตุพนม

พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ
ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
"กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"


เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ประวัติภูกระดึง

ตามตำนานภูกระดึงนั้น มีเรื่องเล่าว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทน ขึ้นไปจนถึงบนยอดเขาลูกหนึ่งในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่บนยอดเขาราบเรียบและกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า ฝูงกระทิง เก้ง กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูง ๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน นับจากนั้นมา ภูกระดึงก็เริ่มเปิดตัวเองสู่สายตาชาวโลก
ภูกระดึงซึ่งธรรมชาติได้ปิดซ่อนเร้นมานานก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จักแต่ นั้นมาจากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือ ภูกะดึง เพราะคำว่า “ภู” หมายถึง ภูเขา และ “กระดึง” มาจาก “กระดิ่ง” ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า “ระฆังใหญ่”นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วนหากเดินหนักๆ หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า “ภูกระดึง”



เขียนโดย นายณัฐวุฒิ อารีรมย์

ปาป้า ปาญ่า อีสานไทย สไตล์ฝรั่ง

ปาป้า ปาญ่า อีสานไทย สไตล์ฝรั่งคอลัมน์ หิวหรืออิ่มก็ยิ้มพอกันถ้าจะกินไก่ย่างให้แจ๋วแหวว ต้องนึกถึง "โคราช" เอาไว้ก่อน ในยามที่ "สูตรอีสานแท้" หาลำบากยิ่งเข้าไปทุกวี่ทุกวันแต่เกิดมีสิ่งตรงกันข้าม มีศูนย์อาหารแห่งใหม่ อยู่สี่แยกสามย่าน จุดที่อดีตเคยเป็นร้านอาหารเก่าๆ ชื่อดังฝังตัวอยู่หลายร้าน ทุกวันนี้ถูกนำมาแปลงร่างเป็น "จัตุรัสจามจุรีสแควร์" เปิดมาไม่นาน กลายเป็นแหล่งนัดพบปะของเด็กวัยรุ่นแห่งใหม่ มีร้านอาหารชื่อดังหลากหลายมาเปิดประชัน หวังดูดสตังค์เด็กวัยรุ่นกันมากมายฉีก ตลาด แหวกแนวกว่าใครเพื่อน คือร้าน "ปาป้า ปาญ่า" หรือ PapaPaya กึ่งลูกผสมกลมกลืน ชื่อฝรั่ง ขาย "ส้มตำ-ไก่ย่าง-ลาบหมูทอด" อยู่ชั้นหนึ่ง ตรงกลางตึก มีรูปส้มตำปู ไก่ย่างติดอยู่หน้าร้าน คงจะสื่อนัยยะว่า อาหารเด็ดคือ "ไก่ย่าง" ต้องเป็นหนึ่งในเมนูเป็นการนำไก่กระทงบ้านมาหมักด้วยเครื่องเทศและกะทิสด เมื่อนำขึ้นเตาย่าง กลิ่นเครื่องเทศผสมกับกะทิสดจะออกมาหอมหวนพอดิบพอดี เนื้อไก่จะนุ่ม หนังกรอบ"ไก่หนุ่ม" เนื้อไม่เหนียว ย่างออกมาไม่แห้ง กระดูกยังแดงๆ น่ากินชะมัด ได้น้ำจิ้มสูตรของร้านมาช่วยอีกหน่อย..หายห่วง บอกแล้วว่า "ปาป้า ปาญ่า" หนักไปทางไทยอีสาน มีส้มตำปู ส้มตำไข่เค็ม และตำปูนิ่มทอดกรอบ เพื่อความคล่องคอ สั่งต้มแซ่บซี่โครงหมูอ่อนมาอีกอย่างผมมีสูตรการกินอยู่ไม่กี่อย่าง นอกจากรสชาติอาหารจะพอใช้ได้ ไม่ถึงกับ**ะเชะ ไปทุกอย่างที่สั่งขึ้นโต๊ะ แต่องค์ประกอบอื่น ผมยึดถือเป็นหัวใจสำคัญในการกินคือ "อาหารสะอาด" ที่ "ปาป้า ปาญ่า" ผมรับประกัน ทั้งอาหารผักสด ไม่ว่าจะเป็นถั่วฝักยาว แตงกวา และกะหล่ำปลี ไม่มีที่ติเมื่อมาเปิดบริการใน "จัตุรัสจามจุรี" ในแหล่งวัยรุ่น และเป็นวัยรุ่นไฮโซ ถึงจะขายส้มตำ ไก่ย่าง ต้มแซ่บ สิ่งที่ละเลยอีกไม่ได้เด็ดขาดคือ "การตกแต่ง" เจ้าของดูจะมีรสนิยม เพดานสูง โต๊ะ เก้าอี้ เลือกใช้ไม้แท้ๆ เอาผ้าขาวม้าที่มีสีสันสดใสมาหุ้ม ดูสวยงามแบบไทยแท้ ใครแวะเวียนไป "จัตุรัสจามจุรี สแควร์" ลองเข้าไปชิม "ปาป้า ปาญ่า" ดู รับรองไม่มีผิดหวัง